รายวิชา ระดับปริญญาศึกษา

รหัสวิชา

 

ชื่อวิชา

3562104

 
 
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์  3(2-2)
(Business Management with Computer Application
)
  ผู้สอน :  ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์  ต้องประสงค์    โทร. 022445747-8  email:phorramatpanyaprat@hotmail.com
     

คำอธิบาย  รายวิชา

 

ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการจัดการด้านงานบุคคล การเงิน การประกันภัย การโรงแรม โรงพยาบาล การธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจการบิน การขนส่ง การผลิต และการจัดการในสถาบันการศึกษา และให้มีการศึกษานอกสถานที่

จุดประสงค์

 

1. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจถึงการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีระบบเครือข่าย

    2. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจถึงรูปแบบ โครงสร้าง องค์ประกอบ ของระบบธุรกิจ
 

3. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถฝึกปฏิบัติ ใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ช่วยในการทำงานในระบบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

  4. เพื่อให้ผู้ศึกษาเกิดทักษะในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ
 

5. เพื่อให้ผู้ศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการหน่วยงานทางธุรกิจ โดยมีการบูรณาการ และสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

   

ผลการเรียนรู้

  1. ผู้ศึกษาได้รับความรู้ และมีความเข้าใจถึงการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิเตอร์ และเทคโนโลยีระบบเครือข่าย ในระบบธุรกิจได้เป็นอย่างดี
    2. ผู้ศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจรูปแบบ โครงสร้าง องค์ประกอบ ของระบบธุรกิจ
  3. ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถฝึกปฏิบัติใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ช่วยในการทำงานในระบบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ
  4. ผู้ศึกษามีทักษะในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ
  5. ผู้ศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานทางธุรกิจ โดยมีการบูรณาการ และสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
   
    แผนการเรียน

 

  รายการเรียน

สัปดาห์ที่ 1

 

บทนำ

 
   
1.1 ความรู้ด้านระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
 
1.2 ความรู้ด้านสารสนเทศ
 
1.3 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
1.4 ความรู้ด้านธุรกิจ
 
1.5 การใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
 
1.6 การจัดการธุรกิจในยุคองค์กรแห่งการเรียนรู้

สัปดาห์ที่ 2

 

ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

 
   
2.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  2.2 ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์
 
2.3 เทคโนโลยีและระบบเครือข่าย
 
2.4 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
2.5 เทคโนโลยีในปัจจุบัน

สัปดาห์ที่ 3

 
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ 
   
3.1 ความหมายของ  ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
 
3.2 วิวัฒนาการของระบบสารสนเทศ
 
3.3 การจำแนกประเภท
  3.4 บทบาทของระบบสารสนเทศ 
  3.5 แบบจำลองระบบสารสนเทศ  

สัปดาห์ที่ 4

 
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
    4.1 โครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
  4.2 บุคลากรด้านสารสนเทศ
  4.3 การวางแผนระบบสารสนเทศ
  4.4 การพัฒนาระบบ
  4.5 เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
  4.6 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
  4.7 การจัดการโครงการ

สัปดาห์ที่ 5

 
เทคโนโลยีฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
    5.1 ความหมายของการจัดการฐานข้อมูล
  5.2 การบริหารข้อมูลและแฟ้มข้อมูล
  5.3 การออกแบบการจัดการฐานข้อมูล
  5.4 ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาฐานข้อมูล

สัปดาห์ที่ 6

 
เทคโนโลยีสารสนเทศกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    6.1 เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต
  6.2 การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา

สัปดาห์ที่ 7

 
สอบกลางภาค

สัปดาห์ที่ 8-11

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับธุรกิจในด้านต่าง ๆ

 
8.1 ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  8.2 ด้านการผลิต
  8.3 ด้านการตลาด
  8.4 ด้านการเงิน
  8.5 ด้านการบัญชี

สัปดาห์ที่ 12

 
ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลทางธุรกิจ
   
12.1 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์
  12.2 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สัปดาห์ที่ 13-14

 
จริยธรรมในการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในธุรกิจ
   
13.1 ความสำคัญของจริยธรรมในธุรกิจ
  13.2 แหล่งที่มาของของจริยธรรมในธุรกิจ
  13.3 ความสำคัญของจริยธรรมในธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  13.4 กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  13.5 กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
  13.6 กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  13.7 กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
  13.8 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  13.9 จริยธรรมในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการธุรกิจ

สัปดาห์ที่ 15

 
กรณีศึกษา ธุรกิจที่มีการจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   
15.1 การจัดการในสถาบันการศึกษา
  15.2 การจัดการในธุรกิจโรงแรม
  15.3 การจัดการในโรงพยาบาล
  15.4 การจัดการในธุรกิจการบิน
  15.5 การจัดการธุรกิจการเงินและการธนาคาร

สัปดาห์ที่ 16

 
สอบปลายภาค (กรณีสอบนอกตาราง)

การวัดและประเมินผล

 
1.1. วัดความเข้าใจ และความสามารถในการเรียนรู้ และการทำกิจกรรมระหว่างเรียน
 
2.วัดความสามารถนำเสนอกรณีศึกษาด้านการจัดการ
 
3.วัดความสามารถในการศึกษารูปแบบกระบวนการ การประยุกต์ใช้และความพร้อมในการแก้ไขปัญหา
 
4.วัดความเข้าใจในกเนื้อหารายวิชา การส่งงาน และการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน
 
 

การวัดผล

 
คะแนนเต็ม 100 แบ่งเป็น  2 ส่วน ดังนี้
   
1.คะแนนระหว่างภาค    ร้อยละ 60
 
    - การนำเสนองานตามรูปแบบการวิเคราะห์ธุรกิจ ร้อยละ   20
 
    - การจัดทำรายงาน/แบบฝึกหัด                       ร้อยละ   10
       - การมีร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน              ร้อยละ   10
       - สอบเก็บคะแนน                                         ร้อยละ   20
 
2. คะแนนสอบปลายภาคร้อยละ  40
 
 

การประเมินผล

 
เกณฑ์การประเมินผล ใช้วิธีอิงเกณฑ์ ดังนี้
   
ระดับการเรียน  
ค่าร้อยละ   ความหมายค่า  ระดับคะแนน
   
A        
95-100 ดีเยี่ยม 4.00
   
B+
85-89 ดีมาก 3.50
   
B 
75-84 ดี 3.00
   
C+
70-74 ดีพอใช้ 2.50
   
C
60-69 พอใช้ 2.00
   
D+
59-55 อ่อน 1.50
   
D
50-54 อ่อนมาก 1.00
   
F
ต่ำกว่า 50 ตก 0.00
     
    งานที่มอบหมาย
    ให้ทุกคนตรวจสอบอีเมล์ของนักศึกษา โดยใช้ อีเมล์ที่ขึ้นต้นด้วย u ตามด้วยรหัสประจำตัวนักศึกษาเช่น นายสนุก  รักการเรียน รหัสประจำตัว 491127620001 อีเมล์ที่ต้องสมัครและใช้ในการส่งข้อมูลคือ u491127620001@hotmail.com และ ใช้ชื่อที่สมัครเป็นภาษาอังกฤษ เช่น SNOOK  LUCKKANLEAN [ถ้ามีอยู่แล้วไม่ต้องสมัครใหม่]
     
     
     
     
     
     
     
     
    เอกสาร-สื่อที่ใช้ในการอ้างอิงประกอบการเรียน
1.  
1.ตำราหลักที่ใช้
   

กิติ ภักดีวัฒนะกุลและทวีศักดิ์  กาญจนสุวรรณ.(2547).การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์.กรุงเทพมหานคร:

        บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด.

 

รุจิจันทร์  พิริยะสงวนพงศ์.(2549).สารสนเทศทางธุรกิจ.กรุงเทพมหานคร:บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

2.  
1.Website ที่อ้างอิง
    http://www.arc.dusit.ac.th
    http://dusithsot.dusit.ac.th/~phorramatpanyaprat_ton
    http://www.google.co.th
    เวปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3.  
1.หนังสืออ่านประกอบ
   

คอตเลอร์,  พี. (2546). การจัดการการตลาด. (แปลจาก Marketing managmement) โดย ธนวรรณ

         แสงสุวรรณ, อดิลล่า  พงศ์ยี่หล่า, อุไรวรรณ  แย้มนิยม,  ยุทธนา  ธรรมเจริญ และ ยงยุทธ 

         ฟูพงศ์ศิริพันธ์)ใ กรุงเทพมหานคร: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

   

ชัชวาล  วงศ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

   

เชลลี,  จี. บี., แคชแมน, ที. เจ.  และโรเซนแบลทท์, เอช เจ. (2546) . การวิเคราะห์และออกแบบระบบ                            (แปลจาก System analysis and design) โดย กิตติมา  เจริญหิรัญ). กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

   

ณัฏฐพันธ์  เขจรนันทน์  และไพบูลย์  เกียรติโกมล. (2548). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
         (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพมหานคร
: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

   

บุญยืน  ตันเยี่ยม. (2545). ระบบสารสนเทศในงานบัญชีและการเงิน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา

       สารสนเทศธุรกิจเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2) (หน้า 143-205). นนทบุรี: สำนักพิมพ์

         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   

พายัพ  ขางเหลือง. (2546). การจัดการการเงินด้วย Microsoft Excel. กรุงเทพมหานคร: เคทีพี คอมพ์

         แอนด์ คอนซัลท์.
   

มัลลิกา ต้นสอน และอดิศักดิ์  พันธ์หอม. (2546). การจัดการการเงินในองค์กรธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2).

         กรุงเทพมหานคร: เอ็กเปอร์เน็ท.

   

แลมเบิร์ต, ดี. เอ็ม., สต๊อก, เจ. อาร์. และเอลแรม, แอล. เอ็ม. (2547). การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์.

        (แปลจาก Supply chain and logistics management โดย กมลชนก สุทธิวาทนฤฑุฒิ,

        ศลิษา  ภมรสถิต และจักรกฤษณ์  ดวงพัมตรา). กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

   

สุภาพร  พิศาลบุตร  และนารีรัตน์  หวังสุนทราพร. (2546). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

       (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วี.เจ. พริ้นติ้ง.

   

Albright, T. L., & Ingram, R. W. (2004). Accounting: managing business information. Mason, OH:Thomson.

   

Gillinas, U. J., Sulton, S. G., & Fedorowicz, J.(2004). Business process & Information technology. Mason, OH: Thomson.

   

O’ brien, J. A. (2005). Introduction to information systems (12th ed.). New York: McGraw-hill Irwin.

   

Turban, E., Leidner, D., Maclean, E., & Wetherbe, J. (2006). Information technology for        Management: transforming organizations in the digital economy (5th ed.). Hoboken,   HJ: John Wiley & Sons (Asia).

     
4.  
1.CD-ROM
5.  
1.WEBSITE
6.  
1.กรณีศึกษาด้านงานที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ
7.  
1.เอกสารประกอบการบรรยาย
     
     
     
     

 

+ up .