หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ   ๓ - ๕  ปี  เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการ อบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา  เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม   และสติปัญญาตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล เป็นการเตรียม ความพร้อมที่จะ เรียนรู้ และสร้างรากฐานให้ พัฒนาไปสู่ความ เป็นมนุษย์ ์ที่สมบูรณ์

        โรงเรียนอนุบาลคุณากรจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเขียนแผนการจัดประสบการณ์ โดยยึดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช   ๒๕๔๖   เพื่อ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ   ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และได้จัดกิจกรรม เสริมทางวิชาการ ให้กับนักเรียน ตามความเหมาะสม

ลำดับชั้น

วิชาการ

เตรียมความพร้อม

อนุบาลปีที่  1

20 %

80 %

อนุบาลปีที่  2
40 %
60 %

อนุบาลปีที่  3

60%

40%

 

 
 
   
          สาระการเรียนรู้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์  จิตใจ  สังคม   และสติปัญญา  ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้สาระ การเรียนรู้ประกอบด้วย องค์ความรู้  ทักษะหรือกระบวนการ และคุณลักษณะ หรือค่านิยม  คุณธรรม  จริยธรรม  ความรู้สำหรับเด็กอายุ  ๓-๕  ปี  จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กบุคคล และสถานที่ที่ แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ  รอบตัวเด็กที่เด็กมีโอกาส ใกล้ชิดหรือมี ปฏิสัมพันธ์ใน ชีวิต ประจำวันและเป็นสิ่งที่เด็กมีโอกาส ใกล้ชิดหรือมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งที่เด็ก สนใจ จะไม่เน้นเนื้อหาการท่องจำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ทักษะหรือกระบวนการ จำเป็นต้อง บูรณาการ ทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเด็ก เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม ทักษะการคิด และ ทักษะการใช้ภาษาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น  ปลูกฝังให้เด็กเกิดเจคติที่ดี  มีค่านิยมที่พึง ประสงค์  เช่น ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น  รักการเรียน รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม และมีคุณธรรม  จริยธรรมที่เหมาะสมกับวัย  
   
   
 
   
โรงเรียนได้กำหนดเกณ์การประเมิณออกเป็น ๒ รูปแบบ  
   
          ๑. ประเมิณความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เรียนจะต้องผ่นเกณฑ์การประเมินพัฒนาการทุกด้านตามแบบ อบ.๒ (สมุดรายงานประจำตัวนักเรียนของสำนักงานการศึกษาเอกชน) โดยได้จัดเป็นคุณภาพ    ๓   ระดับ  
   

    ดี   

สามารถทำได้อย่างมั่นคง   แม่นยำ

ปานกลาง
สามารถทำได้ แต่ยังไม่มั่นคง แม่นยำเท่าที่ควร

ควรเสริม

สามารถทำได้บางอย่าง วรได้รับการส่งเสริมมากขึ้น

 
   
          ๒. ประเมินความพร้อมทางด้านวิชาการ  นักเรียนจะต้องผ่านกลุ่มประสบการณ์  (ทักษะคณิตศาสตร์  ภาษาไทย)   กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต  (สปช.)   และกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สลน.) โดยจัดเป็นระดับคุณภาพ   ๔  ระดับ
 
   

ระดับ

ความหมาย

    ช่วงคะแนน

4
ดีมาก
๙๐ - ๑๐๐
3
ดี
๗๐ - ๘๙
2
ปานกลาง
๖๐- ๖๙
1
ปรับปรุง
๕๐ - ๕๙
 
   
          ๓. เวลาเรียน   สำหรับชั้นอนุบาล ๒  และอนุบาล  ๓  จะต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า  ๖๐  %  

 

          หมายเหตุ :    ระดับชั้นอนุบาลปีที่   ๑    ไม่มีการทดสอบด้านวิชาการ   ในกรณีที่นักเรียนที่มีความพร้อม   แต่ไม่ผ่านด้านใดด้านหนึ่งอาจพิจารณาเลื่อนชั้นได้  ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของครูใหญ่และครูประจำชั้น

 

 
 
 
     
   

 
 
 
English Form